ย่างก้าวสู่การฟื้นฟูฟุคุชิมะ (25 ธันวาคม 2018) Index
แจ้งเกี่ยวกับสถานการณ์การฟื้นฟูจังหวัดฟุคุชิมะ เช่น ข้อมูลต่างๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น
- แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น 東日本大震災
- 1 ความเสียหายจากแผ่นดินไหว-สึนามิ (地震・津波被害)
- 2 เขตที่ระบุให้อพยพเนื่องจากภัยพลังงานปรมาณู (原子力災害に伴う避難指示区域など)
- 3 สถานการณ์ โรงไฟฟ้าพลังงานปรมาณูฟุคุชิมะแห่งที่หนึ่ง (東電福島第一発電所の状況)
- ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 環境回復
- ฟื้นฟูสภาพการท่องเที่ยว 観光再生
- ฟื้นฟูสภาพเกษตกรรม 農林水産業再生
- ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในจังหวัด 県産食品のPR
- เตรียมความพร้อมของฐานการวิจัยพัฒนา-การผลิตด้านอุตสาหกรรม 研究開発・産業創出拠点整備
- แนวคิดชายหาดนวัตกรรมฟุคุชิมะ Fukushima Innovation Coast Framework 福島イノベーション・コースト構想
----- การฟื้นฟู จ.ฟุคุชิมะ 福島県の復興 -----
แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น
"แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งแปซิฟิกโทโฮคุ ปี 2011" เกิดขึ้นในวันที่ 11 มี.ค. 2011 เวลา 14.46 น. โดยมีจุดเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ชายฝั่งซังริคุ บันทึกสถิติได้ 9.0 แม็กนิจูด เป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่วัดได้ในประวัติศาสตร์ สึนามิใหญ่ซัดกระหน่ำเป็นวงกว้าง ซึ่งมาพร้อมกับการสั่นไหวรุนแรงที่บันทึกสถิติแรงสั่นสะเทือนได้ระดับ 7 ซึ่งเป็นขนาดใหญ่ที่สุด
The Reconstruction Agency : The Great East Japan Earthquake (2011)
1 ความเสียหายจากแผ่นดินไหว-สึนามิ
(เวลาปัจจุบัน 5 ธันวาคม 2018)
【ความเสียหายด้านบุคลากร】 | ความเสียหายของบ้านเรือน (แยกตามพื้นที่) |
---|---|
ผู้เสียชีวิต :4,088คน(*)ในจำนวนนี้ เป็นการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว 2,259คน (*) การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว หมายถึง ความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหวโดยตรง |
2 เขตที่ระบุให้อพยพเนื่องจากภัยพลังงานปรมาณู
เขตที่ระบุให้อพยพ : 12%->2.3% ของพื้นที่จังหวัด จำนวนผู้อพยพ : 165,000 คน -> 43,000 คน
เขตที่ระบุให้อพยพเนื่องจากภัยพลังงานปรมาณู
*การฟื้นฟูคืนสภาพที่จำเพาะเจาะจงเขตฐานยุทธศาสตร์:เขตซึ่งเคยเป็นเขตที่กลับไปได้ลำบากและถูกจำกัดการเข้าอยู่อาศัย ปัจจุบันยกเลิกคำสั่งระบุให้อพยพแล้ว และมุ่งสู่การพัฒนาให้สามารถให้อยู่อาศัยได้ไปจนถึงภายภาคหน้า
Fukushima Prefecture website : Evacuation designated zones
การเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้อพยพจากแผ่นดินไหว-อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าปรมาณู
3 สถานการณ์ โรงไฟฟ้าพลังงานปรมาณูฟุคุชิมะแห่งที่หนึ่ง
อุณหภูมิภายในเตาปฏิกรณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีเสถียรภาพอยู่ที่ 20-45 องศาเซลเซียส ปริมาณรังสีที่ถูกปล่อยออกมาจากเตาปฏิกรณ์นั้นลดลงมากเมื่อเทียบกับตอนหลังเกิดอุบัติเหตุ
ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณรังสี / เปรียบเทียบกับเมืองหลักของโลก
Link : State of air radiation dose rates
ศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมประจำ จ.ฟุคุชิมะ
ปัจจุบันได้คอยเฝ้าสังเกตกับสำรวจวิจัยสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของฟุคุชิมะอย่างเร่งด่วนและเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่พลเมืองในจังหวัดจะอาศัยอยู่ได้อย่างสบายใจไปจนถึงภายภาคหน้า นอกจากนี้ที่อาคารปฏิสัมพันธ์ “CommutanFukushima” (ไม่เสียค่าเข้าอาคาร) ยังลงแรงสนับสนุนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและรังสีของเด็กๆ ด้วย
ฟื้นฟูสภาพการท่องเที่ยว
ประกาศแจ้งการฟื้นฟูให้โลกรู้ ~ ผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิก-พาราลิมปิกปี 2020 ที่โตเกียว และจัดการประชุมนานาชาติ
Tokyo 2020 Fukushima Information site : Fukushima Plus 2020
Facebook We Love Fukushima (Thai version)
Diamondroute Japan
วิดีโอประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวที่ถ่ายทำแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นหน้าตาของ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ฟุคุชิมะ จ.โทจิกิ จ.อิบารากิ จากมุมมองชาวต่างชาติ ทำสถิติมียอดชม 10 ล้านครั้งหลังเผยแพร่ 1 สัปดาห์
ฟื้นสภาพเกษตรกรรม
จัดหาผลผลิตเกษตรป่าไม้ประมงที่ปลอดภัยไว้วางใจได้ โดยตรวจข้าวทุกเม็ดในทุกกระสอบหรือเฝ้าสังเกตผลผลิตเกษตรป่าไม้ประมงที่ผลิตในจังหวัด
※จัดให้มีการตรวจผลผลิตเกษตรป่าไม้ประมงที่ผลิตในจังหวัดก่อนส่งขาย ยืนยันความปลอดภัย รายการสินค้าที่มีค่าเกินมาตรฐานจะถูกจำกัดการส่งขายตามพื้นที่ผลิต ไม่ให้กระจายสินค้าออกไป
ผลตรวจข้าวทุกเม็ดในทุกกระสอบ
ผลตรวจเฝ้าสังเกตจะประกาศทางเว็บไซต์
https://fukumegu.org/ok/contents/
ผลตรวจผัก-ผลไม้ ผลผลิตปศุสัตว์
Japanese standards on radioactive substances in food and overseas indexes
ผลตรวจเฝ้าสังเกตจะประกาศทางเว็บไซต์
http://www.new-fukushima.jp/
การจับปลาทดสอบในอุตสาหกรรมประมง
ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในจังหวัด
เผยแพร่เสน่ห์ของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในจังหวัดจำพวกผลผลิตเกตรป่าไม้ประมงกับดำเนินการประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัย-ความไว้วางใจ มีเป้าหมายเพื่อกำจัดข่าวลือให้หมดไป
จัดการแข่งขัน Fukushima PEACH Match in Thailand
ทีม Fukushima United FC กับ Air Force Central FC ทีมฟุตบอลอาชีพของไทยได้แข่งนัดกระชับมิตรโดยมีเป้าหมายเพื่อประชาสัมพันธ์ลูกท้อซึ่งเป็นผลผลิตของจังหวัด เมื่อ ส.ค. 2018 ลูกท้อ 1000 ผลถูกแจกจ่ายในสถานที่จัดการแข่งขัน คึกคักด้วยผู้ชมมากมาย นอกจากนี้บรรดานักกีฬากับรองผู้ว่าราชการจังหวัดฟุคุชิมะยังล่วงหน้าไปประชาสัมพันธ์ที่ร้าน ณ ห้างสรรพสินค้าในตัวเมืองกรุงเทพมหานคร และบอกกล่าวให้ชาวไทยได้รับทราบถึงความอร่อยของลูกท้อฟุคุชิมะ |
Fukushima United FC Website : 「Fukushima Peach Match in Thailand」開催のご報告
อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น 6 ปีซ้อนจากงานประเมินเหล้าใหม่ทั่วประเทศ/ได้รางวัล Champion Sake ประจำงาน IWC2018!!
เหล้าฟุคุชิมะสร้างผลงานยอดเยี่ยม "อันดับหนึ่งของญี่ปุ่นได้รับรางวัลชนะเลิศ 6 ปีซ้อน"เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ในงานประเมินเหล้าใหม่ทั่วประเทศซึ่งเป็นงานที่มีประวัติความเป็นมาและอิทธิพลมากที่สุดในประเทศ ยิ่งกว่านั้น "โอคุโนะมัตสึ อาดาทาระกิงโจ (โดยโรงบ่มโอคุโนะมัตสึ)" ยังเฉิดฉายกับ "Champion Sake" อันเป็นรางวัลสูงสุดของสาขาเหล้าญี่ปุ่นประจำงาน IWC (International Wine Challenge) 2018 ซึ่งเป็นงานประเมินผลิตภัณฑ์ไวน์ใหญ่ที่สุดของโลก
เตรียมความพร้อมของฐานการวิจัยพัฒนา-การผลิตด้านอุตสาหกรรม
เตรียมความพร้อมของฐานการวิจัยพัฒนา-การผลิตด้านอุตสาหกรรมที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนสู่การฟื้นฟูไว้ทั่วภายในจังหวัด
ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับราชอาณาจักรไทย |
---|
เราทำบันทึกข้อตกลงด้านอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการแพทย์กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมของราชอาณาจักรไทย วางรากฐานของการ สนับสนุนร่วมกันแก่ SME และความสัมพันธ์แน่นแฟ้นด้านเศรษฐกิจจากบันทึกข้อตกลงนี้ บริษัท 8แห่งใน ฟุคุชิมะพร้อมกันกับจังหวัด ได้ไปออก บูธในงาน MEDICAL FAIR THALAND งานแสดงอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 6-8 ก.ย.2017 |
ส.ค. 2017 ลงนามร่วมกับกระทรวงเศรษฐกิจของรัฐ NRW |
---|
ในปี 2018 เราได้ทำบันทึกข้อตกลง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานนำกลับมาใช้ใหม่ได้และด้านอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการแพทย์กับรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย (NRW) ประเทศเยอรมนี และแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ด้านธุรกิจเรื่อยมา ทว่ามีการปรับปรุงบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการประสานงานแต่ละด้านและเห็นพ้องกันว่าจะเสริมระบบสนับสนุนธุรกิจในสองพื้นที่ให้เข้มแข็งขึ้นเมื่อเดือน ม.ค. 2017 กับ ส.ค. ปีเดียวกัน |
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมครบวงจร สถาบันวิจัยเรื่องพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ของฟุคุชิมะ |
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นานาชาติฟุคุชิมะ [ศูนย์วิจัยต่อยอดความรู้ด้านการแพทย์-อุตสาหกรรม] |
---|---|
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมครบวงจรแห่งสำนักงานวิจัยและพัฒนาแห่งชาติ ได้จัดเตรียมความพร้อมของฐานวิจัยและพัฒนาพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ |
เตรียมพร้อมฐานสนับสนุนการผลิตยา เช่น ยารักษาชนิดใหม่-ยาวินิจฉัย-ยาตรวจชนิดใหม่โดยเน้นโรคมะเร็งเป็นหลัก ภายในอาณาบริเวณของมหาวิทยาลัยแพทย์ประจำจังหวัดในฐานะตัวกลางของวงการแพทย์กับวงการอุตสาหกรรม |
ศูนย์สนับสนุนการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ฟุคุชิมะ | ศูนย์สนับสนุนการฟื้นฟูมหาวิทยาลัยไอซึ [แล็บ ICT แนวหน้า] |
---|---|
เตรียมพร้อมฐานที่จัดให้มีการประเมินความปลอดภัยโดยใช้สัตว์ใหญ่กับฝึกหัดบุคลากรทางการแพทย์ให้ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ เพื่อดำเนินการสนับสนุนอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันตั้งแต่เริ่มพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์จนกระทั่งแปรเป็นธุรกิจ |
เตรียมพร้อมฐานวิจัยพัฒนาเพื่อผลักดันการวิจัย ICT แนวหน้า สร้างอุตสาหกรรม ICT ใหม่ไปพร้อมๆ รวมกลุ่มบริษัทที่จะรับภาระส่งเสริมอุตสาหกรรมของพื้นที่ที่ใช้งาน ICT ให้เกิดประโยชน์กับลงแรงในการพัฒนาบุคลากร |
แนวคิดชายหาดนวัตกรรมฟุคุชิมะ Fukushima Innovation Coast Framework
แนวคิดชายหาดนวัตกรรมฟุคุชิมะมีเป้าหมายอยู่ที่สร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่สูญเสียไปจากแผ่นดินไหวใหญ่ญี่ปุ่นตะวันออกและภัยพลังงานปรมาณู
Part of Fukushima Robot Test Field to Open
World's first test base for drone operation and long-distance flight control(July 2018, METI)